เชื้อราบิวเวอเรีย
เชื้อราบิวเวอเรีย

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Beauveria  bassiana

เชื้อราบิวเวอเรีย บาสเซียนา เป็นจุลินทรีย์ที่พบในดิน อาศัยกินซากที่เน่าเปื่อยผุพังในดิน และจัดเป็นพวก “เชื้อราทำลายแมลง”สามารถทำลายแมลงได้หลายชนิด (Entomopathogenic fungi) เช่น เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล  แมลงหวี่ขาว เพลี้ยไฟ ไรแดง เพลี้ยอ่อน เพลี้ยไก่แจ้ และหนอนศัตรูพืชหลายชนิด


เส้นใยเชื้อราบิวเวอเรีย

เส้นใย
ทรงกระบอก เส้นผ่านศูนย์กลาง 1.5-2.0 ไมครอน สีใส มีผนังกั้น โคโลนีเรียบ เป็นฝุ่นคล้าย แป้งหรือคล้ายชอล์ก

สปอร์เชื้อราบิวเวอเรีย

สปอร์
รูปทรงกลม ก้านชูสปอร์ตั้งขึ้นเป็นเส้นยาว เรียงเป็นสายเดียวหรือเป็นกิ่งก้าน กลุ่มของ สปอร์อยู่กันเป็นสาขามารวมกันคล้ายรูปจาน

การเข้าทำลายแมลงของเชื้อราบิวเวอเรีย

การทำลายแมลงของเชื้อราบิวเวอรีย

1. สปอร์ของเชื้อราไปติดอยู่กับอวัยวะต่างๆ ของแมลง
2. สปอร์งอกเป็นเส้นใยแทงทะลุเข้าไปในอวัยวะของแมลงบริเวณที่มีความอ่อนบาง โดยอาศัยน้ำย่อยต่างๆ คือ ไลเปส โพทีเนส และไคติเนส
3. เชื้อราบิวเวอเรียจะสร้างเส้นใยมากมายทำลายชั้นไขมันและแพร่กระจายอยู่ทั่วในช่องว่างภายในลำตัวแมลง ทำให้แมลงตาย เส้นใยจะพัฒนาต่อไปโดยแทงผ่านผนังลำตัวแมลงออกสู่ภายนอกลำตัวแมลงและสร้างสปอร์ปกคลุมผนังลำตัวด้านนอกของแมลง
4. สปอร์สามารถแพร่กระจายปลิวไปตามลม ฝนหรือติดไปกับแมลงตัวอื่น เมื่อสภาวะเหมาะสมจะทำลายแมลงศัตรูพืชต่อไป

ตัวอย่างแมลงที่ถูกทำลายด้วยเชื้อราบิวเวอเรีย

แมลงสิง เชื้อราบิวเวอเรีย
แมลงสิง
เชื้อราบิวเวอเรีย เพลี้ยอ่อน
เพลี้ยอ่อน
เพลี้ยไก่แจ้ส้ม เชื้อราบิวเวอเรีย
เพลี้ยไก่แจ้ส้ม
เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เชื้อราบิวเวอเรีย
เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล
ผีเสื้อ เชื้อราบิวเวอเรีย
ผีเสื้อ
ด้วงกัดใบ เชื้อราบิวเวอเรีย
ด้วงแทะใบ

การใช้เชื้อราบิวเวอเรียในการกำจัดแมลงศัตรูพืช

ใช้เชื้อราบิวเวอเรีย

ผสมเชื้อสดกับนำ้

ใช้เชื้อราบิวเวอเรีย

ขยำให้สปอร์หลุดออก กรองด้วยผ้าขาวบาง

ใช้เชื้อราบิวเวอเรีย

ฉีดพ่นให้โดนตัวแมลง

การฉีดพ่น
อัตราส่วน 🌳🌳 เชื้อสด 1 กก. ผสมน้ำ 80 ลิตร

1. นำเชื้อสดผสมน้ำเล็กน้อย และเติมสารจับใบ
2. ขยำให้สปอร์หลุดออกให้หมด กรองด้วยผ้าขาวบาง
3. ผสมน้ำให้ได้ตามอัตราส่วน
4. นำไปฉีดพ่นในช่วงเวลาเย็น ให้โดนตัวแมลง โดยปรับหัวพ่นให้เป็นละอองฝอยมากที่สุด

ใส่ลงดิน

ใส่เชื้อ อัตราส่วน เช้อลด 1-2 กำมือ/ตารางเมตร โรยเชื้อสดรอบโคนต้นพืชให้ทั่วทรงพุ่ม
พรวนดินกลบหรือใช้วัสดุอื่นคลุม เช่น ฟางข้าว หญ้าแห้ง เศษพืช ฯลฯ เพื่อป้องกันแสงแดด ใส่ซ้ำ เดือนละครั้ง