เชื้อราเมตาไรเซียม
เชื้อราเมตาไรเซียม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Metarhizium anisopliae

เป็นจุลินทรีย์ที่มีขนาดเล็ก พบใน สามารถทำให้เกิดโรคในแมลงได้หลายชนิด เช่น ตั๊กแตน หนอนด้วง หนอนผีเสื้อ มวน และเพลี้ยต่างๆซึ่งขึ้นกับชนิดและสายพันธุ์ของเชื้อราเมตาไรเซียมด้วย ลักษณะโดยทั่วไปของเชื้อราเมตาไรเซียม คือเมื่อเจริญเติบโตเต็มที่จะมีสีเขียวหม่น สามารถมีชีวิตอยู่ในดินได้นาน เป็นเชื้อราที่ไม่ทำอันตรายต่อไส้เดือนฝอย สัตว์ต่างๆ และมนุษย์


เส้นใยเชื้อราเมตาไรเซียม

เส้นใย

สปอร์เชื้อราเมตาไรเซียม

สปอร์

การเข้าทำลายแมลงของเชื้อราเมตาไรเซียม

การทำลายแมลงของเชื้อราเมตาไรเซียม

เมื่อสปอร์ของเชื้อราเมตาไรเซียมสัมผัสหรือติดไปกับตัว ในสภาพความชื้นสูง เชื้อราจะงอกเป็นเส้นใยและแทงทะลุผ่านผนังลำตัวแมลงและเจริญเพิ่มปริมาณภายในลำตัวแมลง ทำให้แมลงเคลื่อนไหวช้าลง ไม่กินอาหาร และตายภายใน 7-9 วัน หลังจากนั้น 2-3 วัน จะพบเส้นใยสีขาวขึ้นปกคลุมลำตัว และจะสร้างสปอร์สีเขียวในเวลาต่อมา แมลงที่ตายลำตัวจะแข็งและมีเชื้อราสีเขียวขึ้นตามตัว เห็นได้ชัด

ตัวอย่างแมลงที่ถูกทำลายด้วยเชื้อราเมตาไรเซียม

เพลี้ยจักจั่น เชื้อราเมตาไรเซียม
เพลี้ยจักจั่น
เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล  เชื้อราเมตาไรเซียม
เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล
ด้วงแรดมะพร้าว  เชื้อราเมตาไรเซียม
ด้วงแรดมะพร้าว
แมลงดำหนามมะพร้าว  เชื้อราเมตาไรเซียม
แมลงดำหนามมะพร้าว

การใช้เชื้อราเมตาไรเซียมในการกำจัดแมลงศัตรูพืช

ใช้ เชื้อราเมตาไรเซียม

ผสมเชื้อสดกับนำ้

ขยำให้สปอร์หลุดออก กรองด้วยผ้าขาวบาง

ใช้ เชื้อราเมตาไรเซียม

ฉีดพ่นให้โดนตัวแมลง

🍃การฉีดพ่น
อัตราส่วน 🌴🌴 เชื้อสด 1 กก. ผสมน้ำ 100 ลิตร

1. นำเชื้อสดผสมน้ำเล็กน้อย และเติมสารจับใบ
2. ขยำให้สปอร์หลุดออกให้หมด กรองด้วยผ้าขาวบาง
3. ผสมน้ำให้ได้ตามอัตราส่วน
4. นำไปฉีดพ่นในช่วงเวลาเย็น ให้โดนตัวแมลง โดยปรับหัวพ่นให้เป็นละอองฝอยมากที่สุด

ใช้กำจัดด้วงแรดมะพร้าว

ทำกองล่อด้วงแรด  เชื้อราเมตาไรเซียม

🔸 ทำกองล่อด้วงแรด ขนาด 2x2x0.5 เมตร
🔸 นำเชื้อราเมตาไรเซียมคลุกผสมในกองล่อ 0.5-1 กก. ต่อกอง แล้วรดน้ำให้ชุ่ม ปิดด้วยทางมะพร้าว
🔸 กองล่อ 1 กอง สามารถควบคุมด้วงแรดได้ 2-2.5 ไร่