วงจรชีวิตแตนเบียนบราคอน
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Bracon hebeter Say.

ความสำคัญ :

เป็นศัตรูธรรมชาติที่สำคัญของหนอนหัวดำมะพร้าว เข้าทำลายในระยะหนอนของหนอนหัวดำมะพร้าวทำให้หนอนตาย สามารถใช้ควบคุมหนอนหัวดำได้อย่างมีประสิทธิภาพ

วงจรชีวิต
ไข่แตนเบียนบราคอน

ไข่
ลักษณะเรียวยาว สีขาวขุ่น ไข่เป็นฟองเดี่ยวหรือกลุ่ม 2-8 ฟอง อายุ 1-2 วัน

หนอนแตนเบียนบราคอน

หนอน
ลักษณะหัวแหลมท้ายมน ไม่มีขา สีครีม จะเกาะดูดกินน้ำเลี้ยงอยู่ภายนอกตัวเหยื่อ อายุ 4-5 วัน

ดักแด้แตนเบียนบราคอน

ดักแด้
เมื่อหนอนโตเต็มที่แล้ว จะเข้าดักแด้โดยการถักใยรอบตัวเอง และเข้าดักแด้อยู่ภายใน อายุ 5-7 วัน

ตัวเต็มวัยแตนเบียนบราคอน

ตัวเต็มวัย
มีสีน้ำตาลดำ เพศเมียส่วนท้องค่อนข้างอวบอ้วนกว่า และหนวดสั้นกว่าเพศผู้ มีอวัยวะวางไข่สีดำ แหลม ยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร เพศเมียหนึ่งตัวไข่เฉลี่ย 229 ฟอง อายุ 24-53 วัน

ลักษณะการทำลายเหยื่อ
แตนเบียนบราคอนวางไข่
แตนเบียนบราคอนเพศเมียกำลังวางไข่
หนอนแตนเบียนบราคอน
หนอนบราคอนดูกินน้ำเลี้ยงบนตัวเหยื่อ

แตนเบียนบราคอนเป็นแตนเบียนชนิดภายนอก จะวางไข่บนตัวหนอนหัวดำมะพร้าว โดยก่อนวางไข่ แตนเบียนเพศเมียจะใช้เข็มแทงเข้าไปในตัวหนอนและปล่อยสารชนิดหนึ่งออกมาทำให้หนอนเป็นอัมพาตแล้วจึงวางไข่บนตัวหนอน เมื่อไข่ฟักออกมาเป็นตัวหนอน จะดูดกินน้ำเลี้ยงในตัวหนอนจนทำให้หนอนตาย เมื่อครบอายุ หนอนของแตนเบียนจะปล่อยตัวออกจากหนอนหัวดำมะพร้าวและถักรังเพื่อเข้าดักแด้และออกเป็นแตนเบียนบราคอนรุ่นต่อไป

การนำแตนเบียนบราคอนไปใช้ควบคุมศัตรูพืช
ปล่อยแตนเบียนบราคอน
ปล่อยแตนเบียนบราคอน

🌴ปล่อยในอัตรา 200 ตัว/ไร่

🌴ปล่อยในช่วงเช้า ให้กระจายทั่วแปลง ติดต่อกัน 5-7 ครั้ง ทุก 7 วัน