อนาไกรัส
anagyrus lopezi
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Anagyrus lopezi

เป็นศัตรูธรรมชาติที่ควบคุมเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังสีชมพูได้ดี โดยมีถิ่นกำเนิดในแถบอเมริกาใต้ และได้ถูกนำเข้าไปใช้ควบคุมเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังสีชมพูในประเทศแถบแอฟริกาตะวันตก รวม 25 ประเทศและสามารถควบคุมได้เป็นผลสำเร็จ

ความสำคัญ :

       A. lopezi เป็นแมลงขนาดเล็ก ลำตัวมีสีดำ มีปีกใส 2 คู่ ขนาดลำตัววัดจากหัวถึงปลายท้องยาว 1.2-1.4 มิลลิเมตร เพศเมียมีขนาดใหญ่กว่าเพศผู้ แตนเบียนเพศผู้ หนวดจะยาวเรียวมีสีดำทุกปล้อง เพศเมียมี scape ซึ่งเป็นหนวดปล้องแรก มีลักษณะแบนเป็นแผ่นใหญ่กว่าหนวดปล้องอื่นๆ ปล้องหนวดส่วนที่เรียกว่า funicle มีสีขาวสลับดำ วงจรชีวิต 17-21 วัน

วงจรชีวิต
anagyrus lopezi

ระยะไข่ ใช้เวลา 2 วัน
ระยะตัวหนอน: วัย 1 ใช้เวลา 2 วัน
                วัย 2 ใช้เวลา 5 วัน
                วัย 3 ใช้เวลา 8 วัน  
ระยะดักแด้ ใช้เวลา 6 วัน
ระยะตัวเต็มวัย ใช้เวลา 7-8 วัน

ลักษณะการทำลายเหยื่อ

แตนเบียนอนาไกรัส สามารถทำลายเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังสีชมพูได้ทั้งการห้ำ และการเบียน

การห้ำ

แตนเบียนอนาไกรัส
การห้ำแตนเบียนอนาไกรัส

แตนเบียนเพศเมียจะใช้อวัยวะวางไข่ แทงเข้าไปในลำตัวของเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังสีชมพู ส่วนมากเลือกเพลี้ยแป้งขนาดเล็ก แล้วใช้ปากดูดกินของเหลวที่อยู่ในลำตัวของเพลี้ยแป้งเพื่อนำโปรตีนจากของเหลวไปสร้างไข่ การห้ำจะทำให้เพลี้ยแป้งตายทันที แตนเบียนเพศเมีย 1 ตัว สามารถฆ่าทำลายเพลี้ยแป้งได้วันละ 20-30 ตัว

การเบียน

การเบียนอนาไกรัส

แตนเบียนเพศเมียจะใช้อวัยวะวางไข่ แทงเข้าไปในลำตัวของเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังสีชมพูที่มีขนาดใหญ่ แล้ววางไข่เข้าไปในลำตัวของเพลี้ยแป้ง อัตรา 1:1  เมื่อไข่ของแตนเบียนที่อยู่ในลำตัวเพลี้ยแป้งฟักเป็นตัวหนอนจะดูดกินของเหลวและเจริญเติบโตจนทำให้เพลี้ยแป้งค่อยๆ ตายจากนั้นจะเข้าดักแด้ภายในตัวเพลี้ยแป้ง

     เพลี้ยแป้งที่ตายด้วยการเบียนจะมีลักษณะเป็นซากแข็งสีน้ำตาล เรียกว่า “มัมมี่” เมื่อแตนเบียนกลายเป็นตัวเต็มวัยจะเจาะผนังมัมมี่ออกเป็นรู และออกจากมัมมี่บินไปทำลายเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังสีชมพูต่อไประยะตั้งแต่วางไข่จนถึงมัมมี่ = 9-10 วัน ระยะวางไข่ถึงตัวเต็มวัย = 17-20 วันแตนเบียนเพศเมีย 1 ตัว สามารถเบียนเพลี้ยแป้งได้ วันละ 15-20 ตัว

การนำแตนเบียนอนาไกรัสไปใช้ควบคุมศัตรูพืช
การปล่อยอนาไกรัส

🌱สำรวจแปลงก่อนปล่อย 10 จุด ต่อพื้นที่ 1 ไร่
พบเพลี้ยแป้ง 1-2 จุด ปล่อย 50-100 คู่ ต่อไร่
พบเพลี้ยแป้ง 3 จุดขึ้นไป ปล่อย 200-500 คู่ ต่อไร่
🌱หลังปล่อยให้งดการพ่นสารเคมีโดยเด็ดขาด !!