Asecodes hispinarum
Asecodes hispinarum
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Asecodes hispinarum Boucek

ความสำคัญ :

แตนเบียนอะซิโคเดสหรือแตนเบียนหนอนแมลงดำหนามมะพร้าว เป็นแตนเบียนภายในขนาดเล็ก เบียนระยะหนอนของแมลงดำหนามมะพร้าว ลำตัวยาวประมาณ 0.5 – 0.7 มิลลิเมตร เพศเมียมีขนาดใหญ่กว่าเพศผู้เล็กน้อย มีกะเปราะท้องยาวป้อม ที่ปลายส่วนท้องมีอวัยวะวางไข่ ลักษณะคล้ายเข็มเล็กๆ ยาวเรียว ซ่อนอยู่ใต้ท้อง มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศปาปัวนิวกินี

วงจรชีวิต
วงจรชีวิตแตนเบียนอะซิโคเดส

ตัวเต็มวัย
      ตัวเต็มวัยเป็นแตนเบียนขนาดเล็ก ลำตัวยาวประมาณ 0.5-0.7 มิลลิเมตร เพศเมียมีขนาดใหญ่กว่าเพศผู้เล็กน้อย กระเปาะท้องยาวป้อม ที่ปลายส่วนท้องมีอวัยวะวางไข่ ลักษณะคล้ายเข็มเล็กๆ ยาวเรียวซ่อนอยู่ใต้ท้อง เพศผู้กระเปาะท้องจะยาวเรียวกว่าเพศเมีย

ลักษณะการทำลายเหยื่อ
อะซิโคเดส
อะซิโคเดส

ตัวเต็มวัยแตนเบียนเพศเมียที่ผสมพันธุ์แล้วจะใช้อวัยวะวางไข่ ลักษณะคล้ายเข็มเล็กๆแทงเข้าไปวางไข่ในลำตัวของหนอนแมลงดำหนามมะพร้าว หนอนแตนเบียนจะฟักออกจากไข่ดูดกินของเหลว เจริญเติบโต และเข้าดักแด้ในตัวหนอนแมลงดำหนามมะพร้าว หนอนที่ถูกเบียนจะเคลื่อนไหวช้า กินอาหารได้น้อย และตายในที่สุดหลังจากถูกเบียน 5-7 วันหนอนที่ถูกเบียนตายลำตัวจะเป็นสีดำ เรียกว่า มัมมี่ แตนเบียนมีระยะการเจริญเติบโต ตั้งแต่ไข่ถึงตัวเต็มวัย ประมาณ 15-20 วัน ตัวเต็มวัยแตนเบียนเมื่อออกจากดักแด้ จะกัดผนังของมัมมี่ออกมา และจับคู่ผสมพันธุ์ 1-2 ชั่วโมง และสามารถเข้าเบียนหนอนได้ทันที ตัวเต็มวัยมีอายุ 2-4 วัน ใน 1 มัมมี่ จะมีตัวแตนเบียน ประมาณ 50 – 200 ตัว

การนำแตนเบียนอะซิโคเดสไปใช้ควบคุมศัตรูพืช
ปล่อยอะซิโคเดส

🌴นำมัมมี่ที่จะปล่อยใส่ภาชนะสำหรับปล่อย จำนวน 5 มัมมี่ / 1 ภาชนะปล่อย
🌴นำภาชนะปล่อยที่ใส่มัมมี่ ไปแขวนในสวนมะพร้าว ไร่ละ 1 ภาชนะปล่อย หรือแขวนห่างกัน
500 เมตร/จุด
🌴แขวนภาชนะปล่อยในที่ร่ม โดยแขวนใกล้ยอดหรือที่ต้นมะพร้าวสูงจากพื้นประมาณ 2 เมตร
หรือต้นไม้ในสวนมะพร้าว