Tetrastichus brontispae
แตนเบียนเตตระสติคัส
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tetrastichus brontispae Ferriere

ความสำคัญ :

แตนเบียนเตตระสติคัสหรือแตนเบียนดักแด้แมลงดำหนามมะพร้าว จัดเป็นแตนเบียนท้องถิ่นทางภาคใต้ตอนล่างของประเทศไทยและมีบทบาทสำคัญอย่างมาก สามารถพบได้ทั่วไปในสวนมะพร้าวที่มีแมลงดำหนามมะพร้าวเข้าทำลาย โดยแตนเบียนชนิดนี้ช่วยในการควบคุมการระบาดของแมลงดำหนามมะพร้าวได้เป็นอย่างดี ลักษณะการทำลาย แตนเบียนดักแด้แมลงดำหนามเพศเมียที่ผสมพันธุ์แล้ว จะใช้อวัยวะวางไข่แทงเข้าไปวางไข่ในลำตัวของแมลงดำหนามมะพร้าว ในระยะหนอนวัย 4 หรือดักแด้ ซึ่งจะชอบเบียนระยะดักแด้มากที่สุด หนอนของแตนเบียนฟักออกจากไข่ดูดกินของเหลว เจริญเติบโตอยู่ภายในลำตัวแมลงดำหนามมะพร้าว ภายหลังจากถูกเบียนประมาณ 8 วัน แมลงดำหนามมะพร้าวจะมีลักษณะลำตัวแข็งกลายเป็นสีน้ำตาลและจะเข้มมากขึ้น เรียกว่า “มัมมี่” เมื่อแตนเบียนเจริญเป็นตัวเต็มวัยจะใช้ปากกัดผนังมัมมี่ออกมาภายนอก สามารถจับคู่ผสมพันธุ์ได้ทันที ภายหลังผสมพันธุ์แตนเบียนเพศเมียสามารถเข้าเบียนแมลงดำหนามมะพร้าวได้ทันที

วงจรชีวิต
วงจรชีวิตแตนเบียนเตตระสติคัส

ตัวเต็มวัย
      ตัวเต็มวัยเป็นแตนเบียนขนาดเล็ก ลำตัวยาวประมาณ 0.5-0.7 มิลลิเมตร เพศเมียมีขนาดใหญ่กว่าเพศผู้เล็กน้อย กระเปาะท้องยาวป้อม ที่ปลายส่วนท้องมีอวัยวะวางไข่ ลักษณะคล้ายเข็มเล็กๆ ยาวเรียวซ่อนอยู่ใต้ท้อง เพศผู้กระเปาะท้องจะยาวเรียวกว่าเพศเมีย

ลักษณะการทำลายเหยื่อ
แตนเบียนเตตระสติคัส

แตนเบียนดักแด้แมลงดำหนามมะพร้าวเพศเมียที่ผสมพันธุ์แล้ว จะใช้อวัยวะวางไข่แทงเข้าไปวางไข่ในลำตัวของหนอนแมลงดำหนามมะพร้าว ในระยะวัย 4 หรือระยะดักแด้ ซึ่งจะชอบเบียนระยะดักแด้มากที่สุด หนอนของแตนเบียนฟักออกจากไข่ดูดกินของเหลว เจริญเติบโตอยู่ภายในลำตัวแมลงดำหนามมะพร้าว ภายหลังจากถูกเบียนประมาณ 8 วัน แมลงดำหนามมะพร้าวจะมีลักษณะลำตัวแข็งกลายเป็นสีน้ำตาลและจะเข้มมากขึ้น เรียกว่า “มัมมี่” เมื่อแตนเบียนเจริญเป็นตัวเต็มวัยจะใช้ปากกัดผนังมัมมี่ออกมาภายนอก สามารถจับคู่ผสมพันธุ์ได้ทันที ภายหลังผสมพันธุ์แตนเบียนเพศเมียสามารถเข้าเบียนแมลงดำหนามมะพร้าวได้ทันที

การนำแตนเบียนเตตระสติคัสไปใช้ควบคุมศัตรูพืช
ปล่อยแตนเบียนเตตระสติคัส

🌴นำมัมมี่ที่จะปล่อยใส่ภาชนะสำหรับปล่อย จำนวน 5 มัมมี่ / 1 ภาชนะปล่อย
🌴นำภาชนะปล่อยที่ใส่มัมมี่ ไปแขวนในสวนมะพร้าว ไร่ละ 1 ภาชนะปล่อย หรือแขวนห่างกัน
500 เมตร/จุด
🌴แขวนภาชนะปล่อยในที่ร่ม โดยแขวนใกล้ยอดหรือที่ต้นมะพร้าวสูงจากพื้นประมาณ 2 เมตร
หรือต้นไม้ในสวนมะพร้าว